Thai Netizen Network

เครือข่ายพลเมืองเน็ต ท้วงนโยบายวอร์รูม ไอซีที ร้องเปิดเวทีให้มีส่วนร่วมกำกับดูแลสื่อออนไลน์

กรุงเทพฯ:  สืบเนื่องจากกรณี  ร.ต.(หญิง) ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รมว.ไอซีที) เปิดเผยถึงมาตรการปิดกั้น (บล็อค) เว็บไซต์หมิ่นฯ ที่จะต้องใช้งบประมาณกว่า 80 ล้าน บาทและจะมีการเร่งแก้ข้อกฎหมายเพิ่มอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับกระทรวงไอซีทีนั้น ทางสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต มีข้อกังวลใจต่อนโยบายดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายร่วมพูดคุย หาทางออก ไม่ควรใช้ท่าทีประกาศศึกให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวในชุมชนออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลสะท้อนมุมกลับได้

สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนอิสระ และบล็อกเกอร์ ( www.fringer.org ) สมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ตตั้งคำถามท้วงติงถึงมาตรการดังกล่าว โดยมองว่าแทนที่ภาครัฐจะมุ่งใช้มาตรการที่ลิดรอนเสรีภาพแบบขาว-ดำโดยไม่เคารพในวิจารณญาณของประชาชนและในทางที่ไม่โปร่งใส  รัฐควร หันไปเน้นเรื่องการสร้างบรรทัดฐาน ความชัดเจน และความโปร่งใสในการบังคับใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จะดีกว่า เช่น ปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเพื่อตกลงกันว่า นิยามของคำว่า "หมิ่นฯ"  ควร อยู่ที่ใด เว็บที่เข้าข่าย "เว็บหมิ่นฯ" มีลักษณะอย่างไร วิธีปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควรเป็นเช่นไรในทางที่จะรับประกันได้ว่า สิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่ถูกละเมิด

"ในการปิดเวบตนเองคิดว่าอย่างไรก็ควรต้องขอหมายศาลตามมาตรฐานสากล อีกทั้งรัฐควรตระหนักในความไร้ประสิทธิภาพและไร้ประสิทธิผลของมาตรการบล็อกที่สิ้นเปลืองทรัพยากรรัฐเพราะคนสามารถหลบไปใช้ proxy และ วิธีการหลบเลี่ยงการปิดกั้นอื่นๆ ได้ตลอดเวลา และอันที่จริง ความไร้ประสิทธิภาพนั้นเองก็แสดงให้เห็นว่า การพยายามเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็น’ธรรมชาติ’ ของคนท่องเน็ตที่ย่อมอยากมีเสรีภาพในการเข้าถึง ซึ่งรัฐไม่มีทางปิดกั้นได้สำเร็จ" สฤณีกล่าว

จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ข่าวประชาไท www.prachatai.com และสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต แสดงความคิดเห็นต่อกรณี ‘เว็บหมิ่นฯ’ ว่า

"เราต้องทำความเข้าใจใหม่กับคำว่าเว็บหมิ่น ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่อาจเรียกได้ว่าเว็บไหนที่เป็นเว็บหมิ่นจริงๆ หากจะพิจารณาจาก URL ที่ไอซีทีขอคำสั่งศาลปิดไป อาจจะเป็นว่าYouTube (ที่กระจายอยู่ในหลายประเทศ) คือเว็บที่มีเนื้อหาที่เจ้าหน้าที่ได้ขอคำสั่งศาลในการปิดกั้นมากที่สุด ฉะนั้นเราจะเรียก YouTube ว่าเป็นเว็บหมิ่นฯด้วยใช่หรือไม่

ฉะนั้นคงต้องเข้าใจว่าวิธีการที่จะสะกัดเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นจริงๆควรหาหน ทางแก้ไขไปที่สาเหตุมากกว่าที่จะมาใช้วิธีสร้างบรรยากาศความกลัวและความหวาด ระแวง เพราะการกระทำในลักษณะเช่นนี้ยิ่งสร้างบรรยากาศของความอึดอัด ในที่สุดน่าจะยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันมากกว่าที่จะเป็นการปกป้อง"

ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนของภาครัฐ จีรนุช ในฐานะตัวแทนแครือข่ายพลเมืองเน็ต เสนอว่า
"ควรสร้างเวทีการสนทนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ มากกว่าภาครัฐจะมาใช้วิธีแบบข่มขู่หรือประกาศศึก ไอซีทีอาจจะต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีการพูดคุย และนี่น่าจะเป็นหนทางที่สร้างสรรค์ในการแก้ปัญหามากกว่าจะ เร่งรีบใช้งบ 80 ล้านบาทไปกับเรื่อง war room"

สฤณี กล่าวเสริมว่าทางเครือข่ายมีแผนงานฯ ที่จะไปพูดคุยกับหน่วยงานรัฐ  เพราะช่วงนี้อาจจะเป็นจังหวะดีที่จะไปเริ่มคุยกับตำรวจ เรื่องระเบียบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์  เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

 "การปิดเนื้อหาบนเว็บ 2,000 กว่าหน้า เป็นการปิดเฉพาะไม่ให้คนไทยได้เข้าถึงเท่านั้น ในขณะที่คนที่ อื่นทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งไม่ได้เป็นการปกป้องพระเกียรติได้แท้จริงแต่อย่างใด" จีรนุชกล่าวสรุป"

เครือข่ายพลเมืองเน็ตจะมีการยื่นหนังสือและข้อเสนอต่อประเด็นดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีและกระทรวงไอซีทีต่อไป โดยเฉพาะประเด็นการมีส่วนร่วมในการปรับแก้กฏหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ภายในเร็วๆนี้

 

เครือข่ายพลเมืองเน็ต www.thainetizen.org

8 มกราคม 2552

 

Press  release January 8, 2009

 
Thai Netizen Network Protests ICT Ministry’s War Room Policy,Demands Participation in Online Media Regulation

Bangkok: Following the remarks of Mrs. Ranongrak Suwanchawee, Minister of ICT, regarding plans to spend over 80 million Baht budget for technical apparatus to censor (block) lese majeste websites, as well as plans to expedite legal amendments to give ICT Ministry more carte-blanche powers, members of Thai Netizen Network (TNN) are voicing their concerns regarding such plans. TNN demands that the government allow all stakeholders to participate in a discussion in order to reach a democratic solution to this problem, instead of adopting a warcry stance that is sure to create the atmosphere of undue fear in cyberspace, which could lead to its plans being backfired.

Sarinee Achavanuntakul, independent academic and blogger (www.fringer.org) and members of TNN, questions ICT Ministry’s plans. In her view, the government should focus on creating publicly acceptable criteria for Internet regulation, as well as increase clarity and transparency in its enforcement of Computer Crime Act, instead of adopting measures that infringe upon citizens’ freedom of speech in a black-or-white and non-transparent manner without respect to the people’s judgment. For example, the government should consult all stakeholders to reach an agreement on what exactly constitutes "lese majeste," what characterizes websites that are considered "lese majeste," and what the relevant government officials should do to handle these situations in ways that can assure other stakeholders that their personal rights will not be infringed upon.

"With regards to web censorship, I believe the government should seek court order in every case in accordance with international standards. In addition, the government should be aware that web censorship is a very ineffective and inefficient method that inevitably will lead to a waste of government resources, because people can always use proxies and other circumvention methods. And in fact, such inefficiency is indicative of the fact that trying to access information is part of the ‘nature’ of Internet users which government cannot really block," Sarinee says.

Chiranuch Premchaiporn, director of online news website www.prachatai.com and TNN’s member, has this to say about the case of so-called "lese majeste websites":
"We have to reach a new understanding of the term "lese majeste websites" that is currently being used, because we cannot determine whether these websites really committed lese majeste simply by looking at URL that ICT Ministry has asked the court’s permission to block. For example, it may turn out that YouTube (whose servers are located in many countries) is the website that ICT asked to block the most. Would we then call YouTube a "lese majeste website"? So the government should understand that a better way to root out lese majeste content is changing the focus to solve the cause of the problem instead of creating the atmosphere of fear and suspicion by block websites. Because this kind of measure will only worsen the atmosphere, and therefore may cause more harm to the monarchy instead of protecting the monarchy as intended."

In terms of what should be the government’s priority, Chiranuch, speaking as TNN’s representative, says "the government should open up public discussion space to reach a mutual understanding with all stakeholders, instead of using means that threaten or announcing war. ICT Ministry could host such a discussion forum, which should be a more constructive way of solving this problem instead of spending 80 million Baht on war room."

Sarinee adds that part of TNN’s action plan is to discuss such matters with relevant government agencies. This could be a good time to begin discussing proper rules for police enforcement of Computer Crime Act to seek more clarity in this matter.

"Blocking content on over 2,000 web pages is just preventing Thai residents to access them while others worldwide still can. This method therefore cannot truly protect the monarchy’s honors," Chiranuch concludes.

Thai Netizen Network will submit protest letter and recommendations to the Prime Minister and ICT Ministry in the near future, especially on the issue of demanding participation of Internet users in amending the Computer Crime Act.

 
Thai Netizen Network

www.thainetizen.org

January 8, 2009

Exit mobile version